วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเลี้ยงปลานิล


พ.ศ. ๒๕๐๘ สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่นขณะดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร เจ้าชายอากิอิโต แห่งญี่ปุ่น ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพันธุ์ปลานิล จากประเทศญี่ปุ่น (Tilapia nilotica) ๕๐ ตัว ในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๐๘ ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อปลา ที่ บริเวณสวนจิตรลดา ทรงปล่อยปลาด้วยพระองค์เอง และได้พระราชทานพันธุ์ปลานิล ppnb_11.gifppnb_11.gifที่เพาะพันธุ์จากบ่อในสวนจิตรลดา ไปขยายพันธุ์ทั่วพระราชอาณาจักร กับพระราชทานชื่อพันธุ์ใหม่ว่า "ปลานิล" ทับศัพท์วิทยาศาสตร์ (Tilapia nilotica) เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๐๙ ขณะนี้อาหารประเภทปลา ที่ประกอบจากปลานิลเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม

การเพาะเลี้ยงปลานิล

ปลานิล (Tilapia nilotica ) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยง ระยะเวลา ๑ ปี มีอัตราการเติบโต ถึงขนาด ๕๐๐ กรัม รสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ส่วนขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ ๒๐๐-๓๐๐ กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบัน ปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก กรมประมงจึงได้ ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลา ให้ได้ปลานิลที่มีลักษณะสายพันธุ์ดี อาทิ การเจริญเติบโต ปริมาณความดกของไข่ ผลผลิตและ ความต้านทานโรค เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิล เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภค


ไปดูปลากัดกันดีกว่าครับ http://of-fish.blogspot.com/

หรือเพื่อนๆ จะไปดูบล็อกที่น่าสนใจต่อไปนี้ค่ะ
บล็อกการเลี้ยงปลาของบอม http://pong-bom.blogspot.com/
บล็อการเลี้ยงปลาของปอง http://pong-fish.blogspot.com/
บล็อกการประดิษฐ์ดอกไม้ของเบ้า http://sudarat-flower.blogspot.com/
บล็อกดอกไม้ไทยของดุ๋ย http://duy-flower.blogspot.com/
บล็อกการแกะสลักของเปิ้ล http://ple-doraemon.blogspot.com/

ขอให้เพื่อนๆ หรือผุ้สนใจคลิกชมตามสบายค่ะ แล้วเราจะมีบทความดีๆ ออกมาเสนอเรื่อยๆ ค่ะ จากมันสมองอันชาญฉลาดของนักเรียน ป.5-6 โรงเรียนบ้านทองหลางค่ะ อิอิ

กระเพาะพันธุ์ปลานิจ

การให้อาหารและปุ๋ยในบ่อเพาะพันธุ์บ่อดิน บ่อเพาะปลานิลควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ ๕๐-๑,๖๐๐ ตารางเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ระดับสูง ๑ เมตร บ่อควรมีเชิงลาดตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันดินพังทะลาย และมีชานบ่อกว้าง ๑-๒ เมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าก็ควรวิดน้ำและสาดเลนขึ้น ตกแต่งภายในบ่อให้ดินแน่น ใส่โล่ติ๊นกำจัดศัตรูของปลาอัตราส่วนใช้โล่ติ๊นแห้ง ๑ กก./ปริมาตรของน้ำ ๑๐๐ ลูกบาศก์เมตร โรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ๑ กก./พื้นที่บ่อ ๑๐ ตรม. ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง ๓๐๐ กก./ไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ ๒-๓ วัน จึงเปิดหรือสูบน้ำเข้าบ่อผ่านผ้ากรองหรือตะแกรงตาถี่ให้มีระดับสูงประมาณ ๑ เมตร การใช้บ่อดินเพาะปลานิลจะมีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีอื่น เพราะเป็นบ่อที่มีลักษณะคล้ายคลึงตามธรรมชาติ และการผลิตลูกปลานิลจากบ่อดินจะได้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่น
บ่อปูนซีเมนต์ ก็สามารถใช้ผลิตลูกปลานิลได้ รูปร่างของบ่อจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือรูปกลมก็ได้ มีความลึกประมาณ ๑ เมตร พื้นที่ผิวน้ำตั้งแต่ ๑๐ ตารางเมตร ขึ้น ทำความสะอาดบ่อและเติมน้ำที่กรองด้วยผ้าไนล่อนหรือมุ้งลวดตาถี่ ให้มีระดับน้ำสูงประมาณ ๘๐ ซม. ถ้าใช้เครื่องเป่าลมช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ จะทำให้การเพาะปลานิลด้วยวิธีนี้ได้ผลมากขึ้น อนึ่ง การเพาะปลานิลด้วยบ่อซีเมนต์ ถ้าจะให้ได้ลูกปลามากก็ต้องใช้บ่อขนาดใหญ่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง
กระชังไนล่อนตาถี่ ขนาดของกระชังที่ใช้ประมาณ ๕ x ๘ x ๒ เมตร วางกระชังในบ่อดินหรือในหนองบึง อ่างเก็บน้ำ ให้พื้นกระชังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ ประ มาณ ๑ เมตร ใช้หลักไม้ ๔ หลัก ผูกตรงมุม ๔ มุม ยึดปากและพื้นกระชังให้แน่น เพื่อให้กระชังขึงตึง การเพาะปลานิลด้วยวิธีนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ผลิตลูกปลาในกรณีซึ่งเกษตรกรไม่มีพื้นที่ดินก็สามารถจะเลี้ยงปลาได้ เช่น เลี้ยงในอ่างเก็บน้ำหนองบึงและลำน้ำต่าง ๆ เป็นต้น
การคัดเลือกพ่อแม่ปลานิล จากการสังเกตจากลักษณะภายนอกของปลาที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรคและบาดแผล สำหรับพ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศถ้าเป็นปลาตัวเมียและมีสีชมพูแดงเรื่อ ส่วนปลาตัวผู้ก็สังเกตได้จากสีของตัวปลาที่เข้มสดโดยเปรียบเทียบกับปลานิลตัวผู้อื่น ๆ ที่จับขึ้นมา ขนาดของปลาตัวผู้และตัวเมียควรมีขนาดไล่เลี่ยกันคือมีความยาวตั้งแต่ ๑๕-๒๕ เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ ๑๕๐-๒๐๐ กรัม
ปริมาณพ่อแม่ปลาที่จะนำไปปล่อยในบ่อเพาะ ๑ ตัว/๔ ตารางเมตร หรือไร่ละจำนวน ๔๐๐ ตัว ควรปล่อยในอัตราส่วนพ่อปลา ๒ ตัว/แม่ปลา ๓ ตัว เนื่องจากได้สังเกตจากพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ ปลาตัวผู้มีสมรรถภาพที่จะผสมพันธุ์กับปลาตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก ดังนั้นการเพิ่มอัตราส่วนของปลาตัวเมียให้มากขึ้นคาดว่าจะได้ลูกปลานิลเพิ่มขึ้นส่วนการเพาะปลานิลในกระชังใช้อัตราส่วนของปลา ๖ ตัว/ตารางเมตร โดยใช้ตัวผู้ ๑ ตัว/ตัวเมีย ๓-๕ ตัว การเพาะปลานิลแต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ ๒ เดือน จึงเปลี่ยนพ่อแม่ปลารุ่นใหม่ต่อไป

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

รูปร่างลักษณะของปลา


ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลชิคลิดี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยีกา โดยที่ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตเร็วและเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดีจึงได้รับความนิยมและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเซีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศแต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด ๔ แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน ๙-๑๐ แถบ นอกจากนี้ลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง ๑ ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกันมีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว ๓๓ เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตอกอยู่โดยทั่วไป ในประเทศไทยพบปลานิลสีเหลืองขาว-ส้มซึ่งเป็นการกลายพันธุ์จากปลานิลสีปกติหรือเป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้วภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อ และสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายปลากะพงแดงซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานในต่างประเทศ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักกันว่า “ปลานิลแดง”